ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงินนำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทย รวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศรับสมัครพนักงานธนาคารหลายอัตราช่วงเดือนกรกฎาคมนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย รับสมัครพนักงานธนาคารหลายอัตรา

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ประวัติธนาคารแห่งประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484 – 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 – 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน

ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงก์ชาติ (อังกฤษ: The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศและเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลัง จากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ก่อนที่จะดูงบการเงินขององค์กรใด จำเป็นต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ขององค์กรนั้นก่อน แบงก์ชาติในฐานะธนาคารกลางมีพันธกิจต่างจากองค์กรธุรกิจ โดยงบการเงินของธนาคารกลางมีลักษณะพิเศษและนัยต่างจากงบการเงินของธุรกิจทั่วไป

บทบาทหน้าที่ของแบงก์ชาติ ประกอบด้วย 2 ด้านสำคัญ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจ

หมายถึง เสถียรภาพระบบเศรษฐกิจการเงินโดยรวม เช่นเดียวกับพันธกิจของธนาคารกลางทั่วโลกที่ต้องดูแลเสถียรภาพทั้งเศรษฐกิจในประเทศ และต่างประเทศ โดยเสถียรภาพภายในประเทศ หมายถึง การรักษามูลค่าของเงินบาทและสินทรัพย์ของคนไทยไม่ให้ด้อยค่าลงจากเงินเฟ้อ และดูแลไม่ให้เกิดฟองสบู่หรือจุดเปราะบางในระบบการเงินที่อาจจะนำไปสู่วิกฤตการเงินในอนาคต ส่วนเสถียรภาพด้านต่างประเทศ หมายถึง การดูแลค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ ไม่ผันผวนจนเกินไป รักษาอำนาจซื้อของเศรษฐกิจไทยในตลาดโลก รักษาระดับหนี้ต่างประเทศให้อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งมีเงินสำรองระหว่างประเทศเพียงพอเป็นกันชนรองรับแรงปะทะจากความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุนโลก

2. การจัดพิมพ์และนำธนบัตรออกใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

ในการจัดพิมพ์และนำธนบัตรออกใช้ ธปท. จะต้องนำสินทรัพย์ต่างประเทศมูลค่าเท่ากับธนบัตรที่จะออกใช้ใหม่เก็บแยกไว้หนุนหลังธนบัตร

บทบาทหน้าที่ทั้ง 2 ด้านมีความเกี่ยวข้องกัน และถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญและจำเป็นสำหรับการที่ระบบเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวต่อไปได้ด้วยดี มีเสถียรภาพ บัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทยและบัญชีของทุนสำรองเงินตรา ในการดำเนินงานตามพันธกิจ 2 ด้านข้างต้น กฎหมายได้กำหนดให้แบงก์ชาติแยกการลงบัญชีเป็น 2 บัญชี กล่าวคือ

(1) บัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทย

คือ บัญชีที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจ ถ้าเราดูบัญชีธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างย่อ ฝั่งสินทรัพย์ประกอบด้วยสินทรัพย์ที่ส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศและมีสัดส่วนสูงกว่า 85% ของสินทรัพย์ทั้งหมด สินทรัพย์ส่วนที่เหลือคือพันธบัตรรัฐบาลไทย ในขณะที่ฝั่งขวาหรือฝั่งหนี้สินส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธบัตร ธปท. ที่เกิดจากการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจ เงินรับฝากจากสถาบันการเงินและรัฐบาล ซึ่งส่วนนี้เป็นหนี้ที่อยู่ในรูปของเงินบาททั้งหมด

(2) บัญชีของทุนสำรองเงินตรา

คือ บัญชีที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจด้านการพิมพ์และนำธนบัตรออกใช้ในระบบเศรษฐกิจ ฝั่งสินทรัพย์ประกอบด้วยสินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศทั้งหมด 100% ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนฝั่งหนี้สินประกอบด้วยธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (banknotes in circulation) ในรูปของเงินบาท กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ธนบัตรที่ประชาชนจับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจถือเป็นหนี้สินของธนาคารกลาง

ดังนั้น งบการเงินของธนาคารกลางจึงมีความไม่สมดุลระหว่างด้านสินทรัพย์ (ที่อยู่ในสกุลเงินต่างประเทศ) และหนี้สิน (ที่อยู่ในสกุลเงินท้องถิ่น) และจะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

 

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่ freddypink.com

สนับสนุนโดย  ufabet369